เมนู

ฟังมาแล้วอย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า เปลื้องตน อ้างพระศาสดา แนบสนิทพระพุทธ-
ดำรัส ตั้งแบบแผนธรรมไว้.
อนึ่งเล่า พระเถระไม่ยอมรับความที่คำว่า เอวํ เม สุตํ คนทำให้
เกิดขึ้น เมื่อเปิดการฟังมาก่อนใคร จึงควรทราบว่า ท่านชื่อว่าทำลายความ
ไม่เธอ ทำให้เกิดสัทธาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความเชื่อในพระธรรมนี้
แก่มวลเทวดาและมนุษย์ว่า พระดำรัสนี้ ข้าพเจ้ารับมาต่อพระพักตร์ของพระผู้-
มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้แกล้วกล้าด้วยจตุเวสารัชชญาณ ผู้ทรงทศพล ผู้
ดำรงอยู่ในตำแหน่งสูงสุด ผู้บันลือสีหนาท ผู้ทรงเป็นยอดของสรรพสัตว์
ทรงเป็นใหญ่ในธรรม ทรงเป็นราชาแห่งธรรม อธิบดีแห่งธรรม ทรงมีธรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงหมุนจักรอันประเสริฐ คือ สัทธรรม ทรงเป็นพระสัมมา-
สัมพุทธะตรัสรู้ชอบลำพังพระองค์ ในบทดำรัสนั้น ไม่ควรทำความสงสัยเคลือบ
แคลงในอรรถหรือธรรม บทหรือพยัญชนะเลย. ก็ในข้อนี้มีคำกล่าวว่า
วินาสยติ อสทฺธิยํ สทฺธํ วฑฺเฒติ สาสเน
เอวมฺเม สุตมิจฺเจวํ วทํ โคตมสาวโก.
ท่านพระอานนท์ สาวกของพระโคดมพุทธเจ้า
เมื่อกล่าวคำว่า เอวมฺเม สุตํ ชื่อว่าทำลายอสัทธิยะ
ความไม่เชื่อ เพิ่มพูนศรัทธาความเชื่อในพระศาสนา.


แก้อรรถ เอกํ และ สมยํ


ศัพท์ว่า เอกํ แสดงการกำหนดจำนวน. ศัพท์ว่า สมยํ แสดงกาล
ที่กำหนด. สองคำว่า เอกํ สมยํ แสดงกาลไม่แน่นอน ในคำนั้น สมย
ศัพท์ มีความว่า พร้อมเพรียง ขณะ กาล ประชุม เหตุลัทธิ
ได้เฉพาะ ละ และแทงตลอด.

จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นั้น มีความว่าพร้อมเพรียงได้ในประโยคมี
เป็นต้นว่า อปฺเปว นาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลญฺจ สมยญฺจ
อุปาทาย
ถ้ากระไร เราทั้งหลายกำหนดกาลและความพร้อมเพรียง พึงเข้า
ไปหาแม้ในวันพรุ่งนี้
มีความว่า ขณะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เอโก ว โข ภิกฺขเว
ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โอกาสและ
ขณะ เพื่อกาลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีอย่างเดียวแล.
มีความว่า กาล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อุณฺหสมโย ปริฬาหสมโย
กาล
ร้อน กาลกระวนกระวาย.
มีความว่า ประชุม ได้ในประโยคเป็นต้นว่า มหาสมโย ปวนสฺมิ
การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่.
มีความว่า เหตุ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สมโยปิ โข เต
ภทฺทาลิ อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ, ภควา โข สาวตฺถิยํ วิหรติ, โสปิ
มํ ชานิสฺสติ ภทฺทาลิ นาม ภิกฺขุ สตฺถุสาสเน สิกฺขาย อปริปูร-
การีติ อยมฺปิ โข เต ภทฺทาลิ สมโย อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ.
ดูก่อน
ภัตทาลิ เธอก็ไม่รู้ตลอดถึงเหตุว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี
แม้พระองค์ก็จักทรงทราบตัวเราว่า ภิกษุชื่อภัตทาลิไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ใน
คำสอนของของพระศาสดา ดูก่อนภัตทาลิ เธอไม่รู้ตลอดถึงเหตุแม้นี้แล.
มีความว่าลัทธิ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เตน โข ปน สมเยน
อุคฺคหมาโน ปริพฺพาชโก สมณมุณฺฑิกาปุตฺโต สมยปฺปวาทเก ตินุ-
ทุกาจีเร เอกสาลเก มลฺลิกาย อาราเม ปฏิวสติ.
สมัยนั้น ปริพาชก
ชื่อ อุคคาหมานะ บุตรของ นางสมณนุณฑิกา อาศัยอยู่ในอารามของพระ-
นางมัลลิกา ซึ่งมีศาลาหลังเดียว มีต้นมะพลับเรียงรายอยู่รอบ เป็นสถานที่
สอนลัทธิ

มีความว่า ได้เฉพาะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า
ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.

ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะได้เฉพาะ
ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายภาคหน้า.
มีความว่า ละ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สมฺมา มานาภิสมยา
อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส
ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะ ละ มานะได้โดยชอบ.
มีความว่า แทงตลอด ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทุกฺขสฺส ปิฬนฏฺ-
โฐ สงฺขตฏฺโฐ สนตาปฏฺโฐ วิปริณามฏฺโฐ อภิสมายฏฺโฐ
มีความ
บีบคั้นปรุงแต่ง เร่าร้อน แปรปรวน แทงตลอด.
แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้น มีความว่า กาล. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึง
แสดงว่า เอกํ สมยํ สมัยหนึ่ง บรรดาสมัยทั้งหลาย ที่เรียกว่ากาล เป็นต้น
ว่า ปี ฤดู เดือน ครึ่งเดือน คืน วัน เช้า กลางวัน เย็น ยามต้น ยามกลาง
ยามท้าย และครู่.
ท่านอธิบายว่า สมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ใด ที่เรียกว่ากาลมีมาก
ซึ่งปรากฏอย่างยิ่งในหมู่เทวดาและมนุษย์ เป็นต้นอย่างนี้คือ สมัยเสด็จลงสู่
พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยทรงสังเวช สมัยเสด็จออกทรงผนวช สมัยทรง
ทำทุกกรกิริยา สมัยทรงชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัยประทับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
สมัยเทศนา สมัยปรินิพพาน บรรดาสมัยเหล่านั้น พระเถระแสดงสมัยหนึ่ง
กล่าวคือสมัยเทศนา.
ท่านอธิบายว่า บรรดาสมัยทรงทำกิจด้วยพระญาณ และทรงทำกิจด้วย
พระกรุณา สมัยทรงทำกิจด้วยพระกรุณานี้ใด บรรดาสมัยทรงปฏิบัติเพื่อ

เพื่อประโยชน์ส่วนผู้อื่นนี้ใด บรรดาสมัยทรงปฏิบัติกรณียกิจทั้งสอง แก่บริษัท
ที่ประชุมกัน สมัยทรงกล่าวธรรมีกถานี้ใด บรรดาสมัยเทศนาและปฏิบัติ สมัย
เทศนานี้ใด บรรดาสมัยแม้เหล่านั้น พระเถระแสดงว่า เอกํ สมยํ สมัยหนึ่ง
หมายเอาสมัยใดสมัยหนึ่ง.
ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไร ในพระสูตรนี้ ท่านจึงทำ
นิเทศเป็นทุติยาวิภัติ ไม่ทำเหมือนในอภิธรรม ที่ทำนิเทศเป็นสัตตมีวิภัตติว่า
ยุสฺมึ สหเย กามาวจรํ และในสุตตบทอื่นนอกจากอภิธรรมนี้ว่า ยสฺมึ สมเย
ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ
และเหมือนในวินัย ที่ทำนิเทศเป็นตติ-
ยาวิภัตติว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา. ขอกล่าวชี้แจงดังนี้ เพราะใน
พระอภิธรรมและพระวินัยนั้น สมยศัพท์มีอรรถเป็นอย่างนั้น ส่วนในพระสูตร
นี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น. ความจริงบรรดาปิฎกทั้งสามนั้น ในอภิธรรมปิฎก
สมยศัพท์มีอรรถว่ากำหนดภาวะ. จริงอยู่ อธิกรณะ ก็คือสมัยศัพท์ที่มีความว่า
กาล และมีความว่าประชุม และภาวะแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้นนั้นกำหนดได้
ด้วยภาวะแห่งสมัยคือขณะ ความพร้อมเพรียงและเหตุแห่งธรรมทั้งหลายมี
ผัสสะเป็นต้น ที่กล่าวแล้วในอภิธรรมปิฎกและสุตตบทอื่นนั้น เพราะฉะนั้น
ท่านจึงทำนิเทศเป็นสัตตมีวิภัตติ ในอภิธรรมปิฎกนั้น เพื่อส่องความนั้น.
ส่วนในวินัยปิฎก สมยศัพท์ มีความว่าเหตุและมีความว่า กรณะ. จริง
อยู่ สมัยทรงบัญญัติสิกขาบทนั้นใด แม้พระเถระมีพระสารีบุตรเป็นต้น ยังรู้
ได้โดยยาก โดยสมัยนั้นอันเป็นเหตุ และเป็นกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเนื้อ
ทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย ก็ทรงเพ่งถึงเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบทจึงประทับ
อยู่ ณ สถานที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำนิเทศเป็นตติยาวิภัตติไว้ใน
วินัยปิฎกนั้น เพื่อส่องความนั้น.

ส่วนในสูตรนี้ และในปาฐะแห่งสุตตันตปิฎก ซึ่งมีกำเนิดอย่างนี้อื่น ๆ
สมยศัพท์มีอรรถว่า อัจจันตสังโยค คือทุติยาวิภัตติ ที่แปลว่าตลอด. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสูตรนี้หรือสูตรอื่น ตลอดสมัยใด ก็ประทับอยู่ด้วย
พระกรุณาวิหารตลอดไปคือตลอดสมัยนั้น เพราะฉะนั้น สมย ศัพท์จึงควร
ทราบว่า ท่านทำนิเทศเป็นทุติยาวิภัตติไว้ในสูตรนี้ ก็เพื่อส่องความนั้น. ใน
ข้อนี้ มีคำกล่าวว่า
ตํ ตํ อตฺถมเปกิขิตฺวา ภุมฺเมน กรเณน จ
อญฺญตฺร สมโย วุตฺโต อุปโยเคน โส อิธ.
ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าวสมยศัพท์ในปิฎก
อื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและด้วยตติยาวิภัตติ แต่ในสุต-
ตันตปิฎกนี้ สมยศัพท์นั้น ท่านกล่าวด้วยทุติยาวิภัตติ.


แก้อรรถบท ภควา


คำว่า ภควา นี้เป็นคำเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้วิเศษโดยพระ-
คุณเป็นยอดของสัตว์ เป็นครูและควรเคารพเหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ภควาติ วจน์ เสฏฺฐํ ภควาติ จนนมุตตมํ
ครุคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็น
คำสูงสุด พระองค์ทรงเป็นครู และควรแก่ความเคารพ
ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกว่า ภควา.

ความจริง นามคือชื่อมี 4 คือ อาวัตถิกะ ชื่อตามรุ่น ลิงคิกะชื่อตามเพศ
เนมิตตกะ. ชื่อตามคุณ อธิจจสมุปันนะ ชื่อตั้งลอย ๆ. ชื่อว่าอธิจจสมุปปันนนาม
ท่านอธิบายว่า เป็นนามที่ตั้งตามความพอใจ. ในนามทั้ง 4 นั้น นามเป็นต้น